FreeWebboard
แหล่งรวมประกาศ รับงาน ผลิตเสื้อผ้า Design Pattern ตัดเย็บ งานปัก งานพิมพ์ผ้า
GARMENTJOB.COM
ข้อแนะนำการใช้เว็บบอร์ด
ลงโฆษณา
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิก
เข้าสู่ระบบ
ข้อความอธิบาย 1 บรรทัด
ชื่อ แบรนเนอร์ 1 บรรทัด
บรรยากาศดี ห้องสวย หาง่าย
ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ สอช.
ข้อความเว็บบอร์ด......
กลับไปหน้าแรก
กลับไปที่ Board รวมกระทู้
ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ สอช.
Posted : 2010-01-27 09:36:38
จักรพงศ์
โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช. )
โดย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
(สำรับพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร)
***************************************
ความเป็นมา
โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช. ) เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบันโดยได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) และคณะรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (ปี พ.ศ. 2540 2544) เป็นต้นมา โดยดำเนินการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบท โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อให้ภาคธุรกิจเอกชนที่มีตลาดรองรับ สินค้าร่วมมือกับราษฎร จัดตั้งหน่วยผลิตขึ้นในชุมชน และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มรายได้ ทำให้ลดช่องว่างใน การกระจายรายได้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น และลดปัญหาในเรื่องแรงงานพลัดถิ่นจากสังคมชนบทสู่สังคมเมือง เป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ
โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช) ได้ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมชุมชน เพื่อให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการ ตลอดจนให้เกิดวิสาหกิจใหม่ที่มีความเข้มแข็งในภูมิภาค โดยมีเป้าประสงค์อย่างชัดเจน คือ
วัตถุประสงค์โครงการ สอช.
1. เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลืออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงอุตสาหกรรมรายย่อย และอุตสาหกรรมชุมชน เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวมีขีดความสามารถสูงขึ้น ซึ่งวัดผลได้จากธุรกิจผู้ได้รับบริการมีผลประกอบการดีขึ้น เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น , ผลกำไรเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง , ผลิตภาพแรงงานสูงขึ้น เป็นต้น และเพื่อให้เกิดการจ้างงาน และรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งวัดผลได้จากจำนวนกิจการและหน่วยผลิตในชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นและยังคงดำรงกิจการอยู่ได้ไม่น้อยกว่า 2 ปี จำนวนแรงงานหรือตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น และรายได้ที่แรงงานได้รับ
2. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีบทบาทในการ ส่งเสริมและให้บริการแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้หน่วยงานเหล่านั้นมีสมรรถนะสูงขึ้น ในการให้บริการ ซึ่งวัดได้จากประเภทบริการที่หลากหลาย ครอบคลุมปัญหาความต้องการ และสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ,จำนวนจุดติดต่อบริการที่เพิ่มขึ้น และการกระจายอย่างทั่วถึงในระดับท้องถิ่น และบุคลากรผู้ให้บริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น
โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (สอช.) ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2539 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในชนบท เกิดการย้ายฐานการผลิต หรือขยายกิจการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ไปสู่ชนบท โดยใช้อุตสาหกรรมเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยมีจุดมุ่งหมายของการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นในชนบท ในลักษณะของอุตสาหกรรมชุมชน ซึ่งกลุ่มราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ
แนวทางการดำเนินงาน
1. ใช้การตลาดนำการผลิต ชักจูงธุรกิจเอกชนนำอุตสาหกรรมสู่ชนบท
2. จัดตั้งโรงงานในชุมชน ให้ราษฎรมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการ ร่วมลงทุน และร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ
3. สร้างความเข้มแข็งขององค์กรท้องถิ่นโดยการรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการอุตสาหกรรมชุมชนให้ยั่งยืน
4. ดำเนินการในลักษณะความร่วมมือแบบ 3 ประสาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ราษฎรในท้องถิ่นและธุรกิจเอกชน
บทบาทการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ สอช.
1.หน่วยงานภาครัฐ
1. กำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
3. สนับสนุนสถานที่สำหรับฝึกอบรมหรือที่ตั้งหน่วยผลิตในระยะเริ่มต้นการผลิต
4. กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ
2.หน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน
1. สนับสนุนด้านการตลาด
2. พัฒนาความรู้ความสามารถของราษฎรในการผลิตและการบริหารจัดการธุรกิจ
3. การลงทุนในระยะเริ่มแรก
4. สนับสนุนเทคโนโลยีในการผลิต เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
3. ราษฎร
1. มีส่วนร่วมในการผลิต
2. มีส่วนร่วมในการลงทุน การรับผลประโยชน์ และเป็นเจ้าของธุรกิจในชุมชน
คุณสมบัติองค์กรที่เข้าร่วมโครงการ สอช.
ธุรกิจเอกชน
1. เป็นองค์กรที่ดำเนินการด้านการผลิต และจำน่ายสินค้า มีเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถ
ถ่ายทอดให้ราษฎรที่เข้าร่วมโครงการ มีตลาดที่แน่นอนหรือมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่
มั่นคง และดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี
2. มีช่องทางการตลาดไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีความต้องการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่
ภูมิภาค
ราษฎร
1. เป็นกลุ่มราษฎรในท้องถิ่นซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ มีความพร้อมที่จะรับการ
พัฒนาไปสู่การเป็นพนักงานในโรงงาน หรือเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในชุมชน
องค์กรพัฒนาเอกชน
1. เป็นองค์กรที่มีศักยภาพในการพัฒนากลุ่มราษฎรให้มีความเข้มแข็งมีประสบการณ์ในการ
พัฒนาชุมชนในชนบทมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และจะต้องเป็นองค์กรที่จดทะเบียนไว้กับ
ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลัง
2. มีความต้องการที่จะพัฒนาชุมชนในชนบทให้มีความเข้มแข็ง
เป้าหมายการดำเนินงานโครงการ
เพื่อให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมชุมชน ซึ่งราษฎรมีส่วนร่วมบริหารจัดการ และเป็นเจ้าของได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานออกเป็น 3 ปี ดังนี้
ปีที่ 1 ให้เกิดการผลิต การจ้างงานราษฎรในพื้นที่ ให้ราษฎรมีรายได้ มีโรงงาน มีอุปกรณ์ในการผลิต มีคนควบคุมดูแลการผลิต มีการจัดระเบียบในโรงงาน
ปีที่ 2 มีการผลิต การพัฒนากลุ่มหรือราษฎร มีการจ้างงานราษฎรในพื้นที่ ราษฎรมีรายได้ มีเงินออมของกลุ่มเพื่อการลงทุน มีการกำหนดโครงสร้างการทำงาน
ปีที่ 3 มีกลุ่มหรือธุรกิจชุมชนมีความเข้มแข็งเกิดการรวมกลุ่มผลิตสินค้า หรือดำเนินการในรูปแบบสหกรณ์ หรือธุรกิจชุมชน
ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
1. ราษฎรมีรายได้สม่ำเสมอในการผลิตสินค้าในโครงการ
2. ราษฎรมีส่วนแบ่งผลกำไรของอุตสาหกรรมชุมชน
3. ราษฎรมีความเข้มแข็งโดยดูจาก
- มีการออม
- มีการลงทุน
- มีความสามารถในการจัดการ
- มีโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจที่ชัดเจน
แนวทางการเข้าร่วมโครงการ สอช.
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดสัมมนาผู้ประกอบการธุรกิจเอกชนราษฎรและองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและสร้างความเข้าใจในหลักการแนวทางการดำเนินงานโครงการรวมทั้งประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ
- ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อเข้าร่วมโครงการกับหน่วยงานของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่จังหวัดต่างๆ
- หน่วยงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรับเรื่องการติดต่อเข้าร่วมโครงการ ศึกษารายละเอียดของธุรกิจเอกชน ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติการเข้าร่วมโครงการ การดำเนินธุรกิจ ศักยภาพด้านการตลาด แนวทางในการขยายการผลิตหรือการลงทุนไปสู่ชนบท พื้นที่ที่จะนำการผลิตลงไปรวมถึงความพร้อมของราษฎร
- เมื่อได้ข้อมูลในส่วนของธุรกิจเอกชน ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานในพื้นที่ จะศึกษาข้อมูลของกลุ่มราษฎรที่มีความต้องการของธุรกิจเอกชน และมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการรวมทั้งความพร้อมของพื้นที่ที่ธุรกิจเอกชนจะนำการผลิต ลงสู่พื้นที่
- กสอ.จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างธุรกิจเอกชนและราษฎรในพื้นที่ เพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมมือในการร่วมดำเนินการโครงการโดยระบุหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายไว้เพื่อความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานและสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานและความเป็นไปได้ของโครงการรวมทั้งจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจไว้
- หน่วยงานของ กสอ. นำเสนออนุมัติโครงการภายใต้โครงการ สอช. และจัดให้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่าง กสอ.และธุรกิจเอกชน
- ดำเนินกิจกรรมต่างๆที่นำไปสู่การผลิต การฝึกอบรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะการผลิตของราษฎรและการบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่กำหนดไว้
- กำกับดูแลการดำเนินงานของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
- ประสานความร่วมมือการเข้าร่วมโครงการทั้งฝ่ายเอกชนและราษฎรและรักษาประโยชน์ของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ สอช.
ธุรกิจเอกชน
1.ลดภาระด้านแรงงาน
2.ลดต้นทุนการผลิต
3.ได้รับค่าใช้จ่ายสมทบในการพัฒนาราษฎร ที่เข้าร่วมโครงการ
4.องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดีในการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมและประเทศ
ราษฎรในชุมชน
1. มีงานทำและมีรายได้เพิ่ม
2. มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและร่วมบริหารอุตสาหกรรมชุมชน
3. ด้รับการพัฒนาการผลิตและการจัดการให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืน
องค์กรพัฒนาเอกชน
1.ได้รับการสนับสนุนค่าใช่จ่ายส่วนหนึ่งในการดำเนินงาน
2.มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 045314135
IP :
119.63.95.131
แสดงความคิดเห็น Garmentjob.com
ชื่อ /Username :
*
รหัสผ่าน :
*
E-mail :
แทรกภาพ :
รายละเอียด :
Notice:
ข้อความเหล่านี้ เขียนโดยสาธารณชน และส่งแบบอัตโนมัติ เข้าของเว็บบอร์ดไม่สามารถรับผิดชอบความจริง หรือเท็จ ของข้อความใดๆ ทั้งสิ้น
ABOUT GARMENTJOB
CONTACT US
สมัครรับข่าวสาร
แจ้งร้องเรียน
พันธมิตรอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
ติดต่อ Garmentjob.com
Tel. 0-2458-2321 Fax. 0-2458-2322
Webmaster E-mail
garmentjob@gmail.com
รายละเอียดลงโฆษณา